วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การค้นหาข้อมูลด้วย search engine

การค้นหาข้อมูลด้วย  search  engine
Search Engine คืออะไร
 ในโลกของ Internet ข้อมูลมีมากมายเหลือเกิน ถ้าจะใช้เวลาในการอ่านทุกสิ่งบน Internet คงต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคน การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ? มี 2 วิธีครับ 
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
จริงแล้วเราคงไม่มีควมสนใจในทุกเรื่อง แต่คงสนใจเฉพาะเรื่องที่เราสนใจเท่านั้น จึงมีคนคิดเครื่องมือในการช่วยค้นหาข้อมูลที่ ต้องการ นั้นก็คือ Search Engine นั่นเอง




วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธี Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่ จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลง มาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะ แสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของ รายชื่อที่แสดง

2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine


      
วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้
หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Index ลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่
กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้น
ฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป
จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine

สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการ
ต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่อง
ประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับ
ผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้

      1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ

      2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง

      3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)

      4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site

การค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine

      1. เปิดเว็บไซด์ที่ให้บริการ
      2. ใส่คำ (keyword) ที่คุณต้องการจะค้นหาลงไปในช่องยาวๆ (text box) ที่มีสร้างเอาไว้ให้
      3. คลิ๊กที่ปุ่ม ค้นหา (กรณีเลือก Search Engine ที่อื่นอาจจะไม่ได้ใช้คำนี้ก็ได้ แล้วแต่ที่คุ
ณเลือก       โปรแกรมจะเริ่มค้นหาคำนั้นๆให้ ตอนนี้คุณก็รอสักพักนึงก่อน จากนั้นรายชื่อของเว็บเพจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ระบุจะ
ถูกแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบนิดหน่อย ให้เราอ่านเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่ามันเกี่ยวข้องกับ
ข้อมูลที่เราต้องการหรือเปล่า ส่วนใหญ่ข้อมูลที่พบมีมากจนเกินกว่าที่จะแสดงให้เห็นหมดในหน้าเดียว มันจะมีตัวแบ่งหน้า
ให้เราทางด้าน ล่างสำหรับเลือกไปดูรายละเอียดส่วนอื่นๆที่เหลือในหน้าถัดๆไป แต่โดยมากแล้วข้อมูลที่ใกล้เคียง กับคำที่เรา
ต้องการมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นๆ ของรายการแรกที่ Search Engine นั้นๆตรวจพบ 
 
นอกจากการค้นหาข้อมูลแล้ว Search Engine บางที่ ยังสามารถค้นหา รูปภาพ ได้อีกด้วยครับ
การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามา
ได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่

ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริง
มากที่สุด


ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser

การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บเพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความ
ปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ คือ

      1. ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit
      2. แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find (on  This Page) หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้
      3. จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next
          โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ
          ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ


                                     

ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine

คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา
ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้
โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดิน
ลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยัง
สามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูล
ทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , google
เป็นต้น


เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา[1] และคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

รายชื่อเสิร์ชเอนจินเรียงลำดับตามความนิยม
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา [2]
  1. กูเกิล (Google) 49.2%
  2. ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
  3. เอ็มเอสเอ็น (MSN ) 9.6%
  4. เอโอแอล (AOL) 6.3%
  5. อาส์ก (Ask) 2.6%
  6. อื่นๆ 8.5%
เสิร์ชเอนจินอื่นๆ
  • ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
  • Cuil
  • ยานเดกซ์ (Yandex) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของรัสเซีย[3]
เสิร์ชเอนจินในอดีตที่ยกเลิกการใช้งานแล้ว
ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสาร พัฒนาโดยเนคเทค
ประเภทของเครื่องมือค้นหา
  • Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา
หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน
  • การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
  • ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
  • การแสดงผลการค้นหาข้อมูล
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
  1. ^ ศัพท์บัญญัติคำว่า search engine คือ โปรแกรมค้นหา ชื่อในศัพท์บัญญัติ ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2551
  2. ^ สัดส่วนผู้ใช้งานเสิร์ชเอนจิน ข้อมูลจากเสิร์ชเอนจินวอตช์ ปี 2548
  3. ^ Where Google Isn't Goliath BusinessWeek











วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเย็บผ้าด้วยมือ

การเย็บผ้าด้วยมือ

การเนา
 
             คือการเย็บห่างๆพอให้อยู่เป็นแนวเพื่อเย็บให้เรียบร้อยต่อไป
       เช่น เนาก่อนสอย เนาก่อนเย็บตะเข็บให้ติดกัน
      เนาเพื่อทำเครื่องหมายในการเย็บ  เนาเพื่อให้เกิดการรูดจีบ  เป็นต้น
                      การเนา เป็นขั้นตอนแรกของการเย็บผ้า  เพราะการเนาจะทำให้ชิ้นส่วน
      ติดกันชั่วคราวก่อนการเย็บจริง  การเนามีส่วนดีคือ  ทำให้ผ้าไม่เคลื่อน 
      เมื่อเย็บตะเข็บถาวรเสร็จแล้ว จึงดึงด้ายเนาออก
      จับผ้าด้วยมือซ้าย จับเข็ม (ที่มีด้ายร้อยอยู่แล้ว เส้นเดียว) มือขวา แทงเข็มขึ้น-ลง ให้ปมด้ายอยู่ด้าน ล่างของผ้า
     ฝีเข็มไม่ต้องห่างมากนัก ตามในภาพ แล้วดึงด้ายให้ผ่านไปทำซ้ำๆ อย่างนี้ ไปตามความยาวที่ต้องการ
     นี่คือการเนา ใช้ในการทำให้ผ้า 2-3 ชั้น ติดกันคร่าวๆ ก่อนที่จะนำไปเย็บด้วยจักร หรือ เนาเพื่อเป็นแนวในการเย็บจักร
ตามเส้นแนวตะเข็บที่ต้องการ ทำอย่างนี้อีก จนกว่าจะได้ความยาวที่ต้องการ
การเนาเท่ากัน
         คือ การเย็บด้วยมือที่ช่วยยึดผ้า 2 ชิ้นหรือมากกว่าให้ติดกัน มีความถี่ห่างของ
      ฝีเข็ม เสมอกัน ทั้งด้านบนและด้านล่าง ฝีเข็มห่างประมาณ 1/4 ถึง 1/2 นิ้ว    ซึ่งถ้าเนาห่างกว่านี้จะ
      ไม่สามารถบังคับผ้าทั้ง 2 ชิ้นให้อยู่คงที่ได้ การเนาเท่ากันเหมาะสำหรับเนาตะเข็บ ก่อนเย็บเนาชาย
      เสื้อและชายกระโปรงก่อนสอย เป็นต้น 
              
  การเนาไม่เท่ากัน
 เป็นการเนาที่มีความถี่ห่างของฝีเข็มสลับกันฝีเข็มถี่อยู่ด้านบนฝีเข็มห่างอยู่ด้านล่างเป็นการเนาที่ช่วยยึดผ้าให้ติดกันแน่นกว่าการเนาเท่ากันการเนาชนิดนี้ใช้เป็นแนวในการเย็บจักรได้ดีหรือใช้เนาเพื่อลองตัวเสื้อหรือกระโปรงเป็นต้น 
                                
       
    การสอย  


การสอยแบบนี้เรียกว่า การสอยแบบขั้นบันได ให้นำผ้ามาพับริมเข้าไปแล้วค่อยทำการสอย
หรือนำตะเข็บผ้าสองชิ้นมาชนกัน แล้วสอยค่ะ ตามลำดับที่เขียนมานั่นเลย

เป็นการเย็บด้วยมือที่มองเห็นรอยเย็บทางด้านนอกน้อยที่สุดนิยมใช้สอยชายเสื้อชายกระโปรงชายขากางเกงหรือชายผ้าอื่น ๆ ที่ต้องการความสวยงามประณีตการสอยมีหลายชนิดที่นิยมใช้ทั่วไป มีดังนี้

          การสอยซ่อนด้าย เป็นการสอยที่มองเห็นเส้นด้ายเย็บเพียงเล็กน้อย โดยแทงเข็มให้เข็มสอดในพับบทของผ้าให้กว้างช่วงละประมาณ 1 เซนติเมตร ก่อนแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างประมาณ 1 – 3 เส้นแล้วสอดเข็มเข้าไปในเส้นทบผ้าแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างทำเช่นนี้เรื่อยไปจนสิ้นสุดแนวที่ต้องการสอย  

                 
                                                                                                                           
          การสอยฟันปลา เป็นการสอยที่มองเห็นเส้นด้ายทางด้านผิดมากกว่าทางด้านถูกโดยแทงเข็มสะกิดเนื้อผ้าด้านบนและด้านล่างแล้วดึงเข็มดึงด้ายตามทำเช่นนี้ไปจนสิ้นสุดการเย็บการสอยชนิดนี้เป็นการสอยที่ให้ความทนทานนิยมใช้สอยชายกางเกงทั่วไปไว้เพื่อให้เย็บตรงตำแหน่งใช้ด้ายเย็บตรงกลางฐานก้านกระดุมกับตัวเสื้อไม่ดึง          
 
การด้น

เป็นการเย็บด้วยมือที่ใช้แทนการเย็บด้วยจักรมีความทนทานมาก การด้นที่นิยมทั่วไปมี ดังนี้

          การด้นตะลุย วิธีทำคล้ายการเนาเป็นการเย็บผ้า 2 ชิ้นให้ติดกันอย่างถาวรโดยแทงเข็มขึ้นและลงให้ฝีเข็มถี่ที่สุดใช้เย็บทั่วไปทำแนวรูดปะผ้า เป็นต้น 


          การด้นถอยหลัง เป็นการเย็บผ้า2ชนิดให้ติดกันโดยแทงเข็มขึ้นและย้อนกลับไปแทงเข็มด้านหลังให้มีเข็มมีความยาวเพียง?ของฝีเข็มแรงแทงเข็มลงแล้วดึงด้ายขึ้นทำเช่นนี้ไปจนสิ้นสุดตะเข็บตะเข็บชนิดนี้มีความทนทานมากด้านหน้าจะมีลักษณะฝีเข็มเหมือนการเย็บด้วยจักรส่วนด้านหลังด้ายเยกันแน่นเหมาะสำหรับเย็บผ้าโดยทั่วไปที่ต้องการความทนทาน