วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติของอินเตอร์เน็ต

     ประวัติของอินเตอร์เน็ต
          
       อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม



อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
   http://swat7928.blogspot.com/2007/09/blog-post_14.html



          



วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

การทำชั้นวางของตุ๊กตา

คว้าอุปกรณ์มาดังนี้
1 กล่องกระดาษ [ถ้ามีถาดใส่เบียร์เจ๋งเลย]
2 กระดาษห่อของขวัญเหลือๆ [ถ้าไม่มีลองหานิตยสารที่ไม่ได้ใช้ หาด้านในลายเท่ๆ]
3 ไม้บรรทัด
4 ดินสอ หรือปากกา หรืออะไรตามแต่สะดวก
5 กรรไกร
6 คัตเตอร์
7 กาว หรือเทปกาว

ผลออกมาเป็นไงไปดูกัน หรือว่าอารมณ์บูดกว่าเดิม -*-

1. กล่องใส่น้องส่งมาจากร้านค้า และกระดาษห่อของขวัญที่เก็บไว้นานมาก



2. ไหนเอารองเท้ามาวัดดูซิ ใหญ่ไปม้าง



3. งั้นมาทำให้พอดี จัดการวัดซะให้พอดี ไม่ใหญ่เกินไป ไม่เล็กเกินไป จากนั้นก็ทำการตัดซะ



4. เสร็จแล้วจะออกมาเหลือเท่านี้ [ถ้าเป็นพวกถาดน้ำอัดลม หรือเบียร์กระป๋องจะสบายมาก]
** ไม่ต้องทำใหญ่ขนาดนี้ก็ได้นะคะ ดูตามความเหมาะสม ถ้ามีน้อยก็หากล่องเล็ก
หรือจะใช้ถาดไก่ทอด KFC / McDonald ก็ได้ **




5. กลับไปหยิบเสษๆ เมืี่อกี๊มา ตัดกระดาษยาวๆ ให้ยาวกว่าแนวนอนของกล่อง แบบนี้



6. เอารองเท้ามาวัดอีกที จากนั้นเจาะรูของกล่อง ให้กระดาษยาวๆ อันเมื่อกี๊เสียบได้ ทั้งซ้ายและขวา



7. เจาะ 2 ข้างแบบนี้ จากนั้นก็เสียบเข้าไปแบบนี้



8. ถ้ากระดาษยาวไม่พอน่ะหรอ ไม่ต้องกังวล หากระดาษสวยๆ มาห่อ ให้ยาวกว่ากระดาษ



9. แค่นี้ก็เสียบได้แล้ว เสร็จแล้วก็เอามาเสียบแบบนี้
ให้ปลายกระดาษเลยออกมา เอาเทปกาวแปะ [ด้านข้างไม่สวย เราก็หากระดาษมาห่อทีหลังได้]



10. หากระดาษ หรืออะไรมาตกแต่งตามใจชอบ อยากได้กี่ชั้นก็ใส่เข้าไป สุดท้ายออกมาเป็นเยี่ยงนี้ค่ะ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ความหมายของการประดิษฐ์

ความหมายงานประดิษฐ์


งานประดิษฐ์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกความหมายงานประดิษฐ์

2.มีความรู้ความเข้าใจงานประดิษฐ์

***********

ความหมาย ของงานประดิษฐ์

งานประดิษฐ์หมายถึงประดิษฐ์ แปลว่า คิดทำขึ้น

งานประดิษฐ์ จึงหมายถึง การนำเอาวัสดุต่างๆ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อประโยชน์ใช้สอยด้านต่างๆ เช่น เป็นของเล่น ของใช้ หรือเพื่อความสวยงาม

ประโยชน์ของงานประดิษฐ์

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย หากสามารถประดิษฐ์ชิ้นงานตามความต้องการได้

2. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และได้สร้างงานที่มีคุณภาพ

3. ความเพลิดเพลิน ทำให้จิตใจจดจ่อต่อชิ้นงานที่ทำและมีสมาธิที่ดีต่อการทำงาน สามารถลดความเครียดได้

4. เพิ่มคุณค่าของวัสดุ เช่น เศษวัสดุ วัสดุท้องถิ่นและอื่น ๆ ทำให้มีมูลค่าและประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

5. สร้างความแปลกใหม่จากที่มีอยู่เดิม ทำให้ไม่ซ้ำแบบเดิม มีการปรับปรุงและดัดแปลงให้เกิดประโยชน์มากขึ้น

6. ชิ้นงานตรงตามความต้องการ เพราะเป็นผู้ผลิตด้วยตนเองและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกวิธีและถูกต้อง

7. เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น ทำให้เห็นคุณค่าทางจิตใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

8. อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น มาลัย กระทงใบตอง แกะสลักผักและผลไม้ เครื่องแขวนและอื่นๆ เป็นต้น

9. เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของชีวิตได้มากขึ้น

10. เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ที่ประดิษฐ์ชิ้นงานได้อย่างมีคุณภาพ สวยงาม เป็นที่ ชื่นชอบและสนใจแก่ผู้พบเห็น